Skip links

เกี่ยวกับ Health Link

หน้าหลัก > รู้จัก Health Link > เกี่ยวกับ Health Link

คุณเคยไหม?

คุณเคยไหม?

ที่เมื่อเข้าโรงพยาบาลแห่งใหม่แล้วต้องใช้ข้อมูลประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลเก่า ที่เมื่อพบแพทย์แล้วต้องตอบคําถามว่า ตอนนี้ใช้ยาอะไรอยู่บ้างแต่เราจําไม่ได้

หลายคนอาจจะสงสัยว่าในเมื่อโรงพยาบาลหลายแห่งก็เก็บข้อมูลไว้ในระบบคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว
ทําไมเราต้องเดินไปขอประวัติของตนเอง แล้วต้องให้โรงพยาบาลเขียนข้อมูลลงบนแผ่นซีดี
เพื่อนําไปส่งที่อื่น ทําไมถึงส่งข้อมูลให้กันโดยตรงไม่ได้?
เราจะได้สะดวกสบายมากขึ้น และแพทย์จะได้มีข้อมูลเพื่อช่วยในการวินิจฉัยให้เราได้ดีขึ้น

อะไรคือ Health Link?

อะไรคือ Health Link?

Health Link จึงได้เกิดขึ้นมาเพื่อตอบปัญหานี้ โดยเป็นแพลตฟอร์มสําหรับเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ เพื่อให้แพทย์สามารถเข้าดูข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยจากโรงพยาบาลอื่น ๆ ที่เข้าร่วมโครงการได้ และผู้ป่วยสามารถกําหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลของตนเอง ซึ่งหมายความว่าไม่ใช่แพทย์ทุกคนที่จะเข้ามาดูข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยเมื่อไรก็ได้ 

นอกจากนี้ Health Link ยังเป็นประโยชน์สําหรับผู้ป่วยที่เข้ารับบริการฉุกเฉินเป็นอย่างมากในการให้สิทธิ์แพทย์ในห้องฉุกเฉินสืบค้นข้อมูลของผู้ป่วยที่หมดสติ ซึ่งข้อมูลที่ได้มานั้นอาจจะช่วยรักษาชีวิตของผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที 

Health Link เกิดขึ้นได้อย่างไร?

Health Link เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ระบบเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ เป็นแนวคิดที่มีมานาน และ มีการนําไปใช้จริงแล้วในต่างประเทศ ซึ่งถูกเรียกรวม ๆ ว่า Health Information Exchange (HIE) 

โดยมักจะพบในกลุ่มหรือเครือโรงพยาบาลที่ใช้ระบบสารสนเทศ (Hospital Information System หรือ HIS) แบบเดียวกัน การที่จะเกิดระบบ HIE ในระดับประเทศนั้นยากกว่าการทํา HIE เฉพาะกลุ่มมากนัก เนื่องจากโรงพยาบาลแต่ละแห่งใช้ระบบ HIS ต่างกัน และยังใช้มาตรฐานข้อมูลที่ต่างกันด้วย ดังนั้นการทํา HIE ในระดับประเทศจึงจําเป็นต้องมีการตกลงมาตรฐานที่ทุกคนยอมรับ และต้องมีการแปลงข้อมูลของแต่ละสถานพยาบาลให้เข้ากับมาตรฐานกลางก่อนที่จะส่งข้อมูลเข้ามา ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องมีการลงทุนและต้องการการผลักดันจากหลายฝ่ายเพื่อให้เกิดขึ้นได้

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ผลักดันให้เกิดระบบ HIE ในระดับประเทศ โดยการสร้างแพลตฟอร์ม Health Link ขึ้นมา และได้กําหนดมาตรฐานกลางร่วมกับโรงพยาบาลในภาคี และมีการสนับสนุนโรงพยาบาลในด้านเครื่องมือและกระบวนการที่จะทําให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกิดขึ้นได้ตามมาตรฐานดังกล่าว

Play Video

หน่วยงานที่ให้ความสนับสนุนและร่วมมือ

โครงการนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) และ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยทั้งสองฝ่ายต่างใช้จุดแข็งของตนยกระดับระบบให้มีความสมบูรณ์ เพื่อให้ข้อมูลสุขภาพที่แลกเปลี่ยนผ่านระบบ Health Link มีความถูกต้อง รวดเร็ว และปลอดภัย

กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม

กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นผู้อนุมัติทุนสําหรับโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพฯและได้มอบหมายให้สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) (Big Data Institute: BDI) ดําเนินการศึกษา ออกแบบ พัฒนาและให้บริการระบบสารสนเทศ ร่วมกับบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จํากัด (มหาชน)

กระทรวงสาธารณสุข
 

กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ให้ความร่วมมือในการกำหนดมาตรฐานและเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพระหว่างสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ

กองทุนพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม

กองทุนพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นผู้มอบทุนสำหรับโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพฯ (Health Link) นี้
 

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นผู้อนุมัติทุนสําหรับโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพฯและได้มอบหมายให้สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) (Big Data Institute: BDI) ดําเนินการศึกษา ออกแบบ พัฒนาและให้บริการระบบสารสนเทศ ร่วมกับบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จํากัด (มหาชน)

สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ องค์การมหาชน (สขญ.)

สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ องค์การมหาชน (สขญ.) เป็นผู้ดำเนินการหลักในการศึกษา ออกแบบ พัฒนา และให้บริการระบบ Health Link รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์และประสานงานกับโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ หารือกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อกำหนดมาตรฐานข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนในระบบ Health Link

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด
 

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด เป็นผู้ให้บริการคลาวด์สำหรับระบบ Health Link รองรับความปลอดภัยและคุณภาพของระบบ และเป็นผู้ร่วมออกแบบและพัฒนาสถาปัตยกรรมของระบบ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ระบบ

แพทยสภา
 

แพทยสภา   เป็นผู้ควบคุมข้อมูลทะเบียนแพทย์ และให้บริการการตรวจสอบ และระบุตัวตนของแพทย์ที่ใช้งานระบบ Health Link

กรมการปกครอง
กระทรวงมหาดไทย

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ที่ให้ข้อมูลในการยืนยันตัวตนของประชาชน ณ ตอนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ

ธนาคารกรุงไทย
 

ธนาคารกรุงไทย เป็นผู้พัฒนาแอปพลิเคชันเป๋าตัง ซึ่งเป็นช่องทางในการลงทะเบียน การจัดการการเข้าถึงข้อมูล และการให้ความยินยอมของคนไข้ที่ใช้งานระบบ Health Link

มาตรฐานข้อมูลระดับสากล

ระบบ Health Link ได้ใช้มาตรฐาน Fast Healthcare Interoperability Resources (FHIR) จากองค์กร Health Level Seven (HL7) International ซึ่งเป็นมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพ ที่มีผู้ใช้งานทั่วโลก ได้รับการอัปเดตอยู่อย่างสม่ําเสมอ และมีหน่วยงานรัฐบาลหลายประเทศนําไปใช้ เช่น Centers for Medicare & Medicaid Services (CMS) ของสหรัฐอเมริกา

โดย FHIR นั้นง่ายต่อผู้พัฒนาสําหรับการนําไปใช้งานมาก เนื่องจาก FHIR ใช้ HTTP-based RESTful protocol ซึ่งนักพัฒนาเว็บไซต์เข้าใจกันดีว่าเป็นมาตรฐานการพัฒนาเว็บไซต์ที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน ใช้ได้กับอุปกรณ์หลากหลายชนิด และมีตัวเลือกของการแสดงข้อมูลหลายชนิด ได้แก่ JSON, XML, และ RDF ทําให้ง่ายต่อการนําไปใช้ร่วมกับแอปพลิเคชันที่ผู้พัฒนาอื่น ๆ พัฒนาขึ้นมาเสริม