ค้นหา
คำถามที่พบบ่อย
- ทั่วไป
- ประชาชน
- แพทย์
- โรงพยาบาล
Health Link เป็นแพลตฟอร์มสำหรับเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ เพื่อให้แพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลประวัติการรักษาของผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลอื่น ๆ ที่เข้าร่วมโครงการได้ เพื่อประกอบการวินิจฉัยและให้การรักษาหรือบริการให้มีความปลอดภัยและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยแพทย์จะสามารถเข้าดูข้อมูลได้ก็ต่อเมื่อผู้เข้ารับการักษาได้ให้ความยินยอมกับโรงพยาบาลที่เคยมีประวัติการรักษาให้นำส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบไว้แล้วเท่านั้น (โดยควรให้ความยินยอมไว้ล่วงหน้าประมาณ 2-4 วันก่อนเข้ารับบริการ เพื่อให้ระบบดึงข้อมูลของท่านจากสถานพยาบาลที่ท่านเลือกไว้มาแสดงได้)
ท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ ณ ปัจจุบันได้ที่นี่
โครงการ Health Link เป็นแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพ (Health Information Exchange: HIE) ที่ถูกพัฒนา บริหาร และจัดการโดย สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi) และ บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) โดยเป็นความร่วมมือของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและกระทรวงสาธารณสุข รวมไปถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารกรุงไทยสำหรับการให้ประชาชนลงทะเบียนและยืนยันตัวตน แพทยสภาสำหรับการยืนยันตัวตนของแพทย์ เป็นต้น
ระบบ Health Link ตั้งอยู่บนคลาวด์ของ บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้รับมาตรฐานสากล ISO 27001 และมีการตรวจสอบ (audit) จากหน่วยงานภายนอกด้านความปลอดภัยของระบบอย่างสม่ำเสมอ
ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ที่นี่
ท่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการได้ที่
สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi)
อีเมล์: [email protected] หรือ โทร. 02-026-2333
Health Link จะช่วยลดขั้นตอนการตรวจที่ซ้ำซ้อนในกรณีที่ท่านได้ทำการตรวจรักษาในโรงพยาบาลอื่นที่เข้าร่วมโครงการแล้ว และช่วยให้กระบวนการการถ่ายโอนข้อมูลประวัติการรักษาข้ามโรงพยาบาลสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ท่านจึงประหยัดทั้งเงินและเวลาที่ต้องไปขอประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลที่เคยรักษา นอกจากนี้แพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อประกอบการให้บริการทางการแพทย์และการรักษาชีวิตในกรณีฉุกเฉิน
บุคคลทั่วไปที่ถือบัตรประชาชนไทย โดยมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เนื่องจากการนำส่งข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาลนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและมีส่วนเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
ท่านสามารถใช้บริการ Health Link ได้ ณ โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อโรงพยาบาลได้ที่นี่
ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการ
แพทย์ในสถานพยาบาลทุกแห่งที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้นที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของท่านได้ ซึ่งแพทย์เหล่านี้ล้วนเป็นแพทย์ที่มีการขึ้นทะเบียนกับทางแพทยสภาเรียบร้อยแล้วทั้งสิ้น
- ข้อมูลการแพ้ยา
- ข้อมูลโรควินิจฉัย
- ข้อมูลการจ่ายยา
- ข้อมูลวัคซีน
- ข้อมูลหัตถการ
- ข้อมูลค่าผลตรวจทางการแพทย์
- ข้อมูลผลตรวจห้องปฏิบัติและผลสรุปภาพถ่ายทางการแพทย์
- ข้อมูลการเข้ารับบริการ
- ข้อมูลสุขภาพละเอียดอ่อน (ถ้ามี)
ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ที่นี่
ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนใหม่
เพียงแค่สมัครใช้บริการกระเป๋าสุขภาพ ภายในแอปฯ เป๋าตัง และลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ Health Link ในเมนู “บริการแนะนำ”
ท่านจะต้องเป็นผู้ลงทะเบียนด้วยตนเอง และไม่สามารถให้ผู้อื่นลงทะเบียนแทนได้ เนื่องจากในขั้นตอนของการลงทะเบียนจำเป็นจะต้องทำการยืนยันตัวตนเพื่อประโยชน์ด้านความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล
ในกรณีที่ท่านต้องการแก้ไขรายชื่อสถานพยาบาล ท่านสามารถทำได้ผ่านแอปฯ เป๋าตัง โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ ตามในข้อที่ 9
ท่านสามารถเข้าไปที่แอปฯ เป๋าตัง เพื่อดูรายชื่อโรงพยาบาลที่เข้ามาใหม่และเลือกให้ความยินยอมกับโรงพยาบาลใหม่ที่ท่านต้องการได้ ในกรณีที่ท่านเคยเลือกให้ความยินยอมแก่สถานพยาบาลทั้งหมดไว้นั้น ท่านไม่จำเป็นต้องเข้าไปเพิ่มรายชื่อโรงพยาบาลใหม่ด้วยตนเอง เนื่องจากระบบจะจัดการให้โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้แอปฯ เป๋าตังจะมีการแจ้งเตือนการอัปเดตรายชื่อโรงพยาบาลที่เข้ามาใหม่ทุกวันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือน เวลาเที่ยงวัน โดยท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ ตามในข้อที่ 6 และ ข้อที่ 9
โรงพยาบาลที่ท่านได้ให้ความยินยอมให้ส่งต่อข้อมูลของท่านอาจใช้ระยะเวลาประมาณ 2-4 วันในการจัดเตรียม อัปเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและนำส่งข้อมูลเข้าระบบ แต่ทั้งนี้บางข้อมูลอาจจะใช้ระยะเวลานานกว่าที่แจ้งข้างต้นซึ่งขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลแต่ละแห่ง
เราพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อดูแลความปลอดภัยของข้อมูลสุขภาพของท่าน โดยท่านสามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลของท่านจะอยู่ภายใต้การรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐานและเข้มงวด ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยสามารถดูได้ที่นี่
ท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อโรงพยาบาลที่ให้ความยินยอมแบบรายครั้งได้ที่นี่
เป๋าตัง เวอร์ชั่น 11 ขึ้นไป
รองรับโทรศัพท์ที่ใช้ Android 5.0+ ขึ้นไป
รองรับโทรศัพท์ iPhone ที่มี iOS 9.0+ ขึ้นไป
ขั้นตอนการรับ OTP เมื่อลูกค้าต้องการรับ OTP จากเบอร์ไหน ลูกค้าจำเป็นต้องมีการ เปิดการใช้งานซิม(On-Sim) นั้นไว้ก่อน
(กรณีที่ตรวจสอบแล้วว่า ON ซิมทั้งหมดแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับ OTP การถอดซิมเป็นวิธีการช่วยอีกทางนึงเท่านั้น)
แอปฯเป๋าตัง แบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1. การเข้าแอปฯ เป๋าตัง สำหรับลูกค้าใหม่และลูกค้าปัจจุบันที่มีการลบแอปฯต้องมีการรับ OTP ในการยืนยันตัวเอง
ส่วนที่ 2. เมื่อข้าม ขั้นตอนเข้าแอปฯเป๋าตัง มาแล้ว จะเป็นการลงทะเบียน G-Wallet ระบบจะให้ สแกนหน้าเพื่อยืนยันตัวตน และไม่ต้องใช้ OTP ในการลงทะเบียน
ถ้าลูกค้ามีการลบแอปฯ และติดตั้งแอปฯเป๋าตังใหม่ จะต้องมีการยืนยันตัวตนเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย โดยอาจจะต้องมีการนำบัตรประชาชนไปทำการยืนยันตัวตนเพิ่มเติมที่ตู้ ATM หรือสาขาธนาคารกรุงไทย
ผู้ใช้งานที่ยืนยันตัวตนไม่สำเร็จ สามารถกด กระเป๋าสุขภาพเพื่อทำการยืนยันตัวตนใหม่อีกครั้งได้ ทั้งนี้ผู้ใช้งานสามารถทำรายการใหม่ไม่เกิน 5 ครั้ง/วัน หากเกินกำหนด ระบบจะขึ้นแจ้งเตือน “ขออภัยค่ะ ท่านระบุข้อมูลไม่ถูกต้องเกิน 5 ครั้ง กรุณาทำรายการใหม่อีกครั้งในวันถัดไป”
ผู้ใช้งานจะได้รับแจ้งผลการยืนยันตัวตน ผ่าน Notification บนเป๋าตัง ทั้งนี้ผู้ใช้งานจะต้องกดอนุญาตให้ระบบสามารถส่งแจ้งเตือนได้ โดยไปที่ ตั้งค่า → เลือก เป๋าตัง → กด Notification → อนุญาต Notification
กระเป๋าสุขภาพคือ ผลิตภัณฑ์ที่อยู่บนเป๋าตังแอปพลิเคชัน โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่แสดงสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพของผู้ใช้งานที่ได้รับจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยผู้ใช้งานสามารถเห็นสิทธิประโยชน์ที่ตนได้รับ และสามารถทำการนัดหมายวัน เวลา สถานที่และสิทธิที่ต้องการเข้ารับบริการที่หน่วยบริการได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
หากผลการสแกนใบหน้าไม่สำเร็จ ผู้ใช้งานสามารถทำการยืนยันตัวตนเพื่อใช้งานเมนู ID ของฉันได้ใหม่ โดยสามารถทำรายการใหม่ไม่เกิน 5 ครั้ง/วัน หากเกินกำหนด ระบบจะขึ้นแจ้งเตือน “ขออภัยค่ะ ท่านระบุข้อมูลไม่ถูกต้องเกิน 5 ครั้ง กรุณาทำรายการใหม่อีกครั้งในวันถัดไป”
แพทย์ที่จะเข้าใช้งาน Health Link ได้ จะต้องทำงานภายใต้โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการและเป็นแพทย์ที่มีการขึ้นทะเบียนกับแพทยสภาแล้วเท่านั้น โดยปกติเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะทำการเพิ่มชื่อแพทย์ที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการเข้าสู่ระบบ หากท่านไม่สามารถใช้งานระบบ Health Link ได้ กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่ท่านทำการรักษาเพื่อเพิ่มสิทธิ์ให้ท่าน หรือติดต่อโครงการ Health Link เพื่อช่วยดำเนินการต่อไป
ท่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือปัญหาต่าง ๆ ได้ที่ สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi)
อีเมล์: [email protected] หรือ โทร. 02-026-2333 ต่อ 3456
username และ password ในการล็อกอิน Health Link จะเหมือนกับ username (เลข ว.) และ password (pincode) ของท่าน ในระบบ MD eService ของแพทยสภา
หากยังไม่เคยลงทะเบียนตั้งค่า pincode ในเวปไซต์แพทยสภา ท่านสามารถลงทะเบียนได้บนระบบ MD eService ของแพทยสภา
ท่านสามารถยืนยันตัวตน และแก้ไขรหัส pincode ได้บนระบบ MD eService ของแพทยสภา
Health Link พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้ท่านสามารถเห็นข้อมูลจากโรงพยาบาลต้นทางที่ส่งข้อมูลเข้าระบบได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามที่ระบบได้รับข้อมูลมา อย่างไรก็ตามระบบ Health Link ไม่สามารถรับรองได้ว่าข้อมูลที่ท่านเห็นจะถูกต้องและครบถ้วนทุกครั้ง ท่านควรใช้ข้อมูลประกอบกับการวินิจฉัยของท่านอย่างระมัดระวังเสมอ
ได้ข้อมูลประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลอื่น ทำให้แพทย์ทราบข้อมูลที่ครบถ้วนยิ่งขึ้น และสามารถช่วยในการตัดสินใจ วินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น
- สามารถป้องกันการเกิดการแพ้ยาซ้ำได้ โดยแพทย์สามารถเห็นประวัติการแพ้ยาจากโรงพยาบาลอื่น เพื่อประกอบการตัดสินใจในการจ่ายยาให้ผู้ป่วย
- เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา และทำให้คนไข้ได้รับการบริการที่ดียิ่งขึ้น โดย Health Link สามารถลดขั้นตอนการตรวจบางอย่างที่คนไข้เคยตรวจไปแล้วจากโรงพยาบาลอื่น
- ทำให้สามารถติดตามผลการตรวจได้แม้ว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องย้ายสถานพยาบาล ดังนั้น Health Link จึงทำให้การรักษาโรคเรื้อรังเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการรักษาภายในโรงพยาบาลเดียว
- ได้ความสบายใจ และความมั่นใจ ในการรักษาคนไข้ โดย Health Link จะทำให้แพทย์ทำงานได้สุดความสามารถ ลดปัญหาการขาดข้อมูลที่จำเป็น
– รพ.สามารถลดค่าใช้จ่ายและภาระรวมไปถึงจำนวนของเจ้าหน้าที่ในส่วนที่ระบบ Health Link รับผิดชอบ เช่น การส่งต่อผู้ป่วย การจัดการเอกสารต่าง ๆ
– ระบบ Health Link ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาของบุคลากรในโรงพยาบาลซึ่งส่งผลดีต่อคนไข้และทำให้คนไข้พึงพอใจกับการรักษามากยิ่งขึ้น โดยที่ Health Link จะเป็นเครื่องมือช่วยให้แพทย์เข้าถึงข้อมูลจากสถานพยาบาลอื่นๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย
– การร่วมมือพัฒนาระบบส่งข้อมูลกับระบบ Health Link จะเป็นประโยชน์กับโรงพยาบาลในอนาคต เนื่องจากระบบ Health Link ใช้มาตรฐานข้อมูล HL7 FHIR ซึ่งเป็นมาตรฐานชั้นนำในวงการ Healthcare ที่มีผู้นำไปใช้ทั่วโลก นั่นแปลว่าโรงพยาบาลสามารถพัฒนาระบบต่อยอดเพียงเล็กน้อย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโรงพยาบาลหลายแห่งทั่วโลกได้อีกด้วย
– ระบบ Health Link จะสร้างมาตรฐานข้อมูลสุขภาพให้กับโรงพยาบาลที่เข้าร่วม ซึ่งจะเป็นรากฐานที่สำคัญในการนำข้อมูลสุขภาพไปใช้ประโยชน์ในระดับประเทศในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา AI ทางการแพทย์ การพยากรณ์โรค การวิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการต่าง ๆ และการวิจัยอื่น ๆ อีกมากมาย
ภาระงานทางฝั่งโรงพยาบาลจะอยู่ในส่วนของการดูแลเพิ่ม/ลด สิทธิ์การใช้งานระบบ Health Link ของแพทย์ที่สังกัดอยู่ภายใต้โรงพยาบาลและการดูแลการทำงานของระบบที่ใช้นำส่งข้อมูลของโรงพยาบาลไปยังระบบ Health Link โดยเจ้าหน้าที่ไอทีของโรงพยาบาลอาจจะต้องดูแลและปรับปรุงโปรแกรมที่พัฒนาไว้เป็นระยะ ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของระบบ Health Link ต่อไปในอนาคต ซึ่งในระยะยาวอาจมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าบริการระบบคลาวด์ (ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา) และค่าบริการเจ้าหน้าที่ไอทีผู้ดูแลระบบ
สามารถเข้าร่วมได้ เนื่องจากโครงการ Health Link ไม่มีการจำกัดประเภทของโรงพยาบาลที่เข้าร่วม
โรงพยาบาลสามารถติดต่อมาที่ สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi)
อีเมล์: [email protected] หรือ โทร. 02-026-2333 ต่อ 3456
สามารถทำได้
โรงพยาบาลสามารถติดต่อมาที่ สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi)
อีเมล์: [email protected] หรือ โทร. 02-026-2333 ต่อ 3456
สามาถเข้าร่วมโครงการได้ โดยเบื้องต้นสามารถเข้าร่วมโครงการในฐานะผู้ใช้งานข้อมูลไปก่อนจนกว่าทางโรงพยาบาลจะมีความพร้อมในการส่งข้อมูลผู้ป่วยเข้าระบบ เมื่อถึงวันนั้นทางโรงพยาบาลสามารถพัฒนาต่อเพื่อเป็นผู้ส่งข้อมูลเข้าระบบได้
เบื้องต้นระบบยังไม่สามารถแสดงข้อมูล Update แบบ real time ได้ โดยปัจจุบันข้อมูลจะพร้อมนำมาแสดงได้ต้องใช้เวลาประมาณ 2-4 วัน นับจากวันที่ผู้ป่วยความยินยอมไว้ในระบบ
โครงการ Health Link นี้มีจุดเริ่มต้นมาจากความร่วมมือของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและกระทรวงสาธารณสุขที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพ